เปรียบเทียบประกันสุขภาพ

7675

✏️ในช่วงวิกฤตโรคระบาด หลายคนสอบถามเรื่องประกันสุขภาพเข้ามารวมถึงตัวเองก็สงสัย “จะเลือกซื้อตัวไหนดี?” ซึ่งถ้าหากกรมธรรม์ที่คุ้มครองเหมือนกันเป๊ะๆเราสามารถเปรียบเทียบเป็นตัวเงินได้ เช่น ค่าชดเชย,ค่าเบี้ย,วงเงินความคุ้มครองรวมสูงสุดต่อปี โดยเปรียบเทียบความคุ้มครองต่อค่าเบี้ย
✏️แต่จริงๆแล้ว ประกันแต่ละแบรนด์ แต่ละแบบ จะมีรายละเอียดความคุ้มครองที่แตกต่างกันยิบย่อย ซึ่งอ่านแล้วบางทีก็งง ยิ่งถ้าเป็นคนที่ไม่เคยซื้อมาก่อนเนี่ย อ่านแล้ว ตึ้บ จนไม่รู้ละว่าจะเอาตัวไหนดี เบี้ยแพงไปมั้ย? คุ้มครองพอรึเปล่า? ครอบคลุมอะไรบ้าง? หลังจากที่คุยกับน้องตัวแทน+ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมก็สรุปได้ประมาณนี้

4 ข้อที่ต้องรู้ก่อนทำประกันสุขภาพ

▶️ประกันต้องซื้อก่อนป่วย : เพราะประกันสุขภาพไม่มีตัวไหนที่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน หากอายุมากขึ้น เป็นโรคมากขึ้นจะยิ่งทำประกันยาก ดังนั้นควรทำประกันตอนที่เรายังสุขภาพดี หากป่วยแล้วจะย้อนกลับมาทำไม่ได้
▶️มีระยะเฝ้าระวัง : ประมาณ 30-90 วัน แล้วแต่แบบประกัน เพื่อป้องกันคนที่ป่วย หรือเป็นโรคมาทำประกันเพื่อกะว่าจะเคลมทันที
▶️มีโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังบางโรค ไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้ : เช่น เบาหวาน,ความดัน ฯลฯ เพราะโรคเหล่านี้จะทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาเยอะ ประกันจะไม่รับลูกค้ากลุ่มนี้เลย
▶️อัพเกรดแผนประกันยาก : หากซื้อประกันด้วยเบี้ยน้อยๆวงเงินความคุ้มครองไม่สูง ในอนาคตหากต้องการเพิ่มวงเงินความคุ้มครอง บริษัทประกันจะนึกว่าเราเป็นโรคอะไรเพิ่ม จะมีขั้นตอนตรวจสอบเยอะ

เกณฑ์ในการตัดสินใจซื้อประกัน

▶️ มี 2 ส่วนใหญ่ๆให้พิจารณา คือ เบี้ย และ ความคุ้มครอง
▶️ เบี้ย : จะเป็นแบบจ่ายทิ้งปีต่อปี คล้ายประกันรถ จึงควรเลือกตามกำลัง
▶️ ความคุ้มครอง : ความคุ้มครองอาการเจ็บป่วย ซึ่งรายละเอียดหลักๆ ที่จะใช้ในการตัดสินใจประกอบไปด้วย

  1. ค่ารักษาผู้ป่วยนอก (OPD) คือ การรักษาแบบไม่นอนโรงพยาบาล เช่น เป็นหวัดไปหาหมอรับยากลับ ถ้าประกันไม่มีส่วนนี้จะรักษาได้เฉพาะกรณีนอน รพ.เท่านั้น ถ้าไม่นอนต้องจ่ายเอง ฉะนั้นถ้าทำประกันทั้งทีก็เลือกแบบที่คุ้มครองส่วนนี้ด้วยนะ
    **บางที่ opd คุ้มครองแค่อุบัติเหตุอย่างเดียว ไม่คุ้มครองการเจ็บป่วย ต้องอ่านดีๆ
  2. ค่ารักษาผู้ป่วยใน (IPD) คือ เมื่อรับการรักษาแบบนอนโรงพยาบาล เช่น ปอดบวม,ไส้ติ่งอักเสบ ฯลฯ อันนี้เป็นความคุ้มครองหลัก
  3. ค่าห้องต่อคืน ดูว่าปกติเวลาป่วยเราจะไปนอนโรงพยาบาลไหน ควรเลือกใกล้บ้านหรือที่ทำงาน เผื่อฉุกเฉินจะได้ไปทัน
    ราคาค่าห้องต่อคืนเท่าไหร่ ถ้าไม่พอต้องเลือกแผนที่สูงขึ้น หรือมีชดเชยรายวันมาช่วยสมทบอีกทางก็ได้
  4. ค่าชดเชยรายวัน ค่าชดเชยรายได้ จากการที่ต้องรักษาพยาบาล จะจ่ายตามจำนวนวันที่เราเข้าพัก
    เช่น ทำชดเชยรายวันวันละ 1000 บาท นอน 3 คืน ได้เงินชดเชย 3000 บาท เป็นต้น
  5. ความคุ้มครองเพิ่มเติม จะมีบางกรมธรรม์ให้ความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ค่าทำฟัน, ค่าคลอดบุตร
  6. ความคุ้มครองรวมสูงสุดกี่บาทต่อปี เพื่อใช้เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพรวม เป็นการนำรายละเอียดความคุ้มครองแต่ละข้อของกรมธรรม์มารวมกัน เช่น OPD, IPD, ค่าห้อง, ค่าชดเชย, ค่ายา, ค่าวินิจฉัยโรค, ค่าผ่าตัด ฯลฯ

เปรียบเทียบประกันสุขภาพในตลาด

▶️เนื่องจากประกันสุขภาพมีหลายบริษัท หลายแผนประกัน แถมแต่ละแผนมีระดับความคุ้มครองให้เลือกหลายระดับอีก
ดังนั้นได้แบ่งระดับแพคเกจความคุ้มครองไว้เป็น 3ระดับ
1) ประกันสุขภาพแผนพรีเมี่ยม : เบี้ยหลักหมื่นปลายๆ-แสน ความคุ้มครองหลัก 10,000,000 ไปจนถึง 100,000,000 บาท!!
เปรียบเทียบประกันแผนพรีเมี่ยม
2) ประกันสุขภาพแผนมาตรฐาน : เบี้ยหลักหมื่นกลางๆ(3-6หมื่นบาท) ความคุ้มครอง เริ่มต้น 3,000,000 – 10,000,000 บาท
เปรียบเทียบประกันแผนมาตรฐาน
3) ประกันสุขภาพแผนเริ่มต้น : เบี้ยพันถึงหมื่นต้นๆ ความคุ้มครองประมาณหลักแสน ไปจนถึง 2,000,000 บาท
เปรียบเทียบประกันแผนเริ่มต้น

Facebook Comments