สรุปรวม เครือโรงแรม ฉบับมือใหม่ (Introduction to Hotel Loyalty 001)

32873

เกริ่นนำ
▶️ โรงแรมในแต่ละเครือจะมีระบบสมาชิกซึ่งแบ่งเป็นระดับต่างๆ
▶️ เมื่อนอนโรงแรมในเครือ “ยิ่งนอนมาก/ใช้จ่ายมาก” ก็จะเลื่อนขั้นไปที่ “สถานะ”สูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยสิทธิประโยชน์ต่างๆก็จะมีมากขึ้นตาม
▶️ สถานะนี้จะมีลักษณะเป็นปีต่อปี เช่น เก็บปีนี้ (2021) ก็จะไปหมดเอาต้นปี (2023)
▶️ การจองโรงแรมเพื่อรับสิทธิประโยชน์ และเก็บคะแนนนั้น จะต้องทำการจองตรงผ่านแต่ละเว็บไซต์ ห้ามจองผ่านตัวแทน เช่น Agoda, Expedia, Booking ฯลฯ

โดยเครือต่างๆทั่วโลกมีมากมาย เช่น
▶️Accor
▶️Best Western
▶️Choice
▶️Hilton
▶️Hyatt
▶️IHG (InterContinental Hotels Group)
▶️Marriott
▶️Radisson
▶️Wyndham

สำหรับการตัดสินเลือกว่าเราจะเก็บเครือไหน? และมีวิธีการนอนอย่างไรให้ได้สิทธิประโยชน์คุ้มๆบ้าง? โพสนี้จะแบ่งเนื้อหาเพื่อประกอบการตัดสินใจดังนี้

  1. แนะนำโรงแรม4เครือที่คุ้นหู ▶️Marriott▶️Accor▶️Hilton▶️IHG
  2. จำนวนโรงแรมในเครือต่างๆ
  3. สิทธิประโยชน์และสถานะที่แนะนำของแต่ละเครือ
  4. สรุปภาพรวม

1) แนะนำโรงแรม4เครือที่คุ้นหู

แบรนด์โรงแรมต่างๆ ในเครือ
แบรนด์โรงแรมต่างๆ ในเครือ ▶️Marriott▶️Accor▶️Hilton▶️IHG

ตัวอย่างโรงแรมในแต่ละเครือ ที่คุ้นๆหูคนไทย โดยไล่ตั้งแต่ระดับหรูหราไปยังโรงแรมราคาไม่แพง

🏨 เครือ Marriott มีในไทย 48 แห่ง

• The Ritz-Carlton – สมุย
• ST REGIS –ราชดำริ
• W Hotel – ช่องนนทรี / สมุย
• The Luxury Collection – Athenee ถ.วิทยุ / Sheraton Grand อโศก / Naka Islands ภูเก็ต / Vana Belle สมุย
• JW Marriott – สุขุมวิท ซ.2 / หาดไม้ขาว ภูเก็ต
• Design Hotel – The naka กมลา ภูเก็ต / Casa เขาหลัก / ที่อื่นๆ ที่ไม่ร่วมMarriott เช่น The Library สมุย/ Mason พัทยา/ The slate ภูเก็ต
• Marriott Hotels – กรุงเทพฯ 3ที่ / ภูเก็ต 2ที่ / พัทยา / หัวหิน / ระยอง
• Westin – อโศก / สิเหร่ ภูเก็ต
• Sheraton – สี่พระยา / หัวหิน / ปราณบุรี / สมุย
• Le Meridien – สุวรรณภูมิ / เชียงใหม่ / เชียงราย / เขาหลัก / ภูเก็ต
• Renaissance – ราชประสงค์ / พัทยา / สมุย / ภูเก็ต
• A loft – สุขุมวิท ซ.11
• Four Points by Sheraton – สุขุมวิท ซ.15 / หาดป่าตอง ภูเก็ต
• Courtyard by Marriott – ราชดำริ
• Marriott Executive Apartments – กรุงเทพฯ 4 ที่
• Marriott Vacation Club – ภูเก็ต
▶️ ตัวอย่างแบรนด์อื่นๆ ที่ยังไม่มีในประเทศไทย
• BVLGARI
• EDITION
• Autograph Collection
• Delta Hotels and Resorts
• Gaylord Hotels
• AC Hotels by Marriott
• Element by Westin
• Residence Inn by Marriott
• SpringHill Suites by Marriott
• Fairfield Inn & Suites by Marriott
• TownePlace Suites by Marriott
• Protea Hotels
• Moxy Hotels

🏨เครือ Hilton มีในไทย 14 แห่ง

• Waldorf Astoria – ราชดำริ
• Conrad – ถ.วิทยุ / สมุย
• Hilton Hotel & Resort – ใกล้เอ็มโพเรียม / ข้าง Iconsiam/ พัทยา / หัวหิน / ภูเก็ต
• DoubleTree By Hilton – เพลินจิต/ พร้อมพงษ์ / ป่าตอง ภูเก็ต
• Hilton Garden Inn – กำลังจะเปิดที่ภูเก็ต
▶️ ตัวอย่างแบรนด์อื่นๆ ที่ยังไม่มีในประเทศไทย
• Canopy
• Curio
• Embassy Suites
• Hampton By Hilton
• Homewood
• Home2

🏨 เครือ Accor มีในไทย 100 แห่ง

• Sofitel So – ลุมพินี
• Banyan Tree – กรุงเทพฯ / ภูเก็ต (ส่วน กระบี่,สมุย ไม่นับแต้ม)
• Sofitel สุขุมวิท ซ.13-15 /กระบี่
• M Gallery – VIE ราชเทวี / Veranda พัทยา
• Pullman – Kingpower รางน้ำ / พัทยา / ภูเก็ต
• Movenpick – เขาใหญ่ / เชียงใหม่ / พัทยา / กรุงเทพฯ
• Swissotel – รัชดา / กมลา ภูเก็ต / ป่าตอง ภูเก็ต
• Grand Mercure – ฟอร์จูน / เขาหลัก / ป่าตอง ภูเก็ต
• Novotel – สยาม / สุขุมวิท / สุวรรณภูมิ /สีลม /ระยอง / หัวหิน / ภูเก็ต 6 ที่
• Mercure – สุขุมวิท / พัทยา / เกาะช้าง / สมุย
• Ibis – กรุงเทพฯ / ภูเก็ต / พัทยา / สมุย
• Ibis Style – กรุงเทพฯ / ภูเก็ต / กระบี่
▶️ ตัวอย่างแบรนด์อื่นๆ ที่ยังไม่มีในประเทศไทย
• Raffles
• Fairmont
• Sofitel Legend
• The SEBEL
• Ibis Budget
• Hotel Formule 1

🏨 เครือ IHG มีในไทย 40 แห่ง

• InterContinental – ราชประสงค์ / พัทยา / หัวหิน / ภูเก็ต
• Kimpton – มาลัย ซ.หลังสวน
• Six sense – สมุย / ยาวน้อย
• Crowne Plaza – ลุมพินี
• Hotel Indigo – ถ.วิทยุ / ป่าตอง ภูเก็ต
• Holiday Inn – สีลม / ราชประสงค์ / สุขุมวิท ซ.22 / พัทยา / แหลมฉบัง / ระยอง / เชียงใหม่
• Holiday Inn Express
• Holiday Inn Resort
▶️ ตัวอย่างแบรนด์อื่นๆ ที่ยังไม่มีในประเทศไทย
• HUALUXE
• VOCO
• EVEN Hotels
• Holiday Inn Club Vacations
• Staybridge Suites
• Candlewood Suites

และนี้ก็คือแบรนด์ต่างๆ ของ4เครือใหญ่ที่ไม่เพียงคุ้นหูคนไทย แต่ยังเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในระดับโลกอีกด้วย เวลาไปเที่ยวไหน ก็จะปรากฏโรงแรมแบรนด์เหล่านี้ที่เมืองท่องเที่ยวต่างๆทั่วโลก เรามาดูจำนวนโรงแรมในเครือตามหัวเมืองต่างๆทั่วโลกกัน

 

2) จำนวนโรงแรมในเครือต่างๆ

เปรียบเทียบจำนวนโรงแรมแต่ละเครือ ▶️Marriott▶️Accor▶️Hilton▶️IHG

หลังจากที่เราพอรู้จัก คุ้นเคย แบรนด์โรงแรมในเครือแล้ว
ทีนี้มาดูว่าจำนวนโรงแรมที่ตั้งอยู่ทั่วโลกมีจำนวนเท่าไหร่บ้าง?
ดูเพื่อประกอบการตัดสินใจการเลือกเก็บโรงแรมในเครือ ในอนาคตมีแพลนไปเที่ยวไหน?

หมายเหตุ : ข้อมูลบางอย่างหาไม่ได้ ใครทำ web scraping เก่งๆ สามารถมาบอกข้อมูลได้ เนื่องจากผมนั่งนับเองไม่ไหว (skill coding พังไปหมดละ 😭)

ตัวอย่าง เช่น

🇺🇸 อเมริกา : แทบหา Accor ไม่มี ใครมีแพลนไปนิวยอร์ค ไปLA ปีหน้าก็ไม่ต้องเก็บเครือนี้

▶️ ทวีปเอเชีย ในภาพรวม เน้นไปที่ Accor > Marriott > Hilton (IHG หาข้อมูลไม่ได้) อย่างไรแล้ว เราลงไปดูแต่ละเมืองยอดฮิตที่คนไทยชอบไปดูกัน
🇹🇭 ประเทศไทย : จุดยุทธศาสตร์หลัก สำหรับคนไทย ช่วงที่ออกประเทศไม่ได้ หรือ หากออกประเทศได้แต่ night ไม่ครบก็อาจจะต้องหาเมืองใกล้ๆ ปั่นเก็บให้ครบก่อนสิ้นปี หากเรียงลำดับจำนวน เครือ Accor > Marriott > IHG > Hilton จะมากจะน้อยก็แล้วแต่หากมีโรงแรมใกล้ๆ ซักแห่งก็สามารถปั่นยอดได้แล้ว เพียงแต่การมีมาก ทำให้สะดวกในการเลือก
🇨🇳🇭🇰🇹🇼🇲🇴 จีน ฮ่องกง ไต้หวัน : แต่ละเมืองก็ถือว่ามีตัวเลือกให้เข้าพัก
🇯🇵 ญี่ปุ่น : Marriott > IHG > Accor > Hilton ตัวเลือกไม่สำคัญเท่าราคา ใครที่ชินนอนโรงแรมเครือ APA, Toyoko อาจจะตกตะลึงกับโรงแรมในเครือเหล่านี้ ถ้าแพงมากก็เก็บแต้มจากประเทศอื่นไปลงน่าจะคุ้มกว่า
🇸🇬 สิงคโปร์ : เน้นไปที่ Accor แม้จะเล็กกว่ากรุงเทพฯ แต่มี Accor 20กว่าแห่ง มีตั้งแต่ ibis ยัน Raffle,Fairmont
🇰🇷 เกาหลีใต้ : Marriott กับ Accor
🇲🇻 มัลดีฟส์ : สาเหตุที่ยกมาก็เพราะ เป็นหนึ่งในเมืองที่รวบรวมจุดคุ้มทุนการแลกแต้มสูงสุดในโลก!!!! ใครที่จะไปมัลดีฟส์ แนะนำให้เก็บในเครือ+แลกแต้ม+ใช้สิทธิประโยชน์ จะคุ้มที่สุด ปริมาณโรงแรมไม่สำคัญ เพราะไปครั้งนึงเลือกแค่1 ลองไปดูว่าอยากไปดีกว่า Marriott : Ritz-Carlton, St.Regis, W / Accor : Fairmont, Raffle / Hilton : Waldorf, Conrad / IHG : Intercon., Six Sense(ในอนาคต)

▶️ ทวีปยุโรป ภาพรวมคือ Accor สูงเด่นกว่าที่อื่น แต่หากเราไปดูแต่ละเมืองก็อาจจะมีตัวเลือก แต่ละที่ ทั้งอังกฤษ 🇬🇧, ฝรั่งเศส 🇫🇷, เยอรมัน 🇩🇪 ก็จะมีตัวเลือกไม่น้อยเหมือนกัน เพราะเรานอน ไม่เกิน 10ที่ ต่อทริป(โดยปกติ) เวลาทำแพลนก็ยังพอมีตัวเลือก อยู่บ้าง เช่น Marriott1 Accorอาจจะ5 ibis เต็มไปหมด ถูกจริตทริปเดินทางไม่เน้นโรงแรม

🇦🇺ออสเตรเลีย 🇳🇿 นิวซีแลนด์ : Accor กวาดเรียบ ใครที่แพลนRoad trip เกาะเหนือ-เกาะใต้ ใช้รถบ้าน โรงแรมในเครืออาจไม่สำคัญ

🏝️ และเกาะในฝันของใครหลายคน Bora Bora แนะนำให้เก็บสถานะสูงๆ ก่อนไปเที่ยว เพราะค่าใช้จ่ายเยอะ ได้แต้มจะได้คูณคุ้มๆด้วย

บางทีจำนวนอาจะไม่สำคัญ เพราะเวลาไปเที่ยว1ทริป เราก็เลือกไม่กี่แห่ง แต่หากมีตัวเลือกเยอะๆ ก็จะสะดวกในการแพลนทริป หรือ มีราคาที่เหมาะสมให้เลือกมากกว่า

3) สรุปสิทธิประโยชน์และสถานะที่แนะนำของแต่ละเครือ

สรุปสิทธิประโยชน์และสถานะที่แนะนำของแต่ละเครือ ▶️Marriott▶️Accor▶️Hilton▶️IHG

มาถึงไฮไลท์ >> ”สถานะ” ที่แนะนำในแต่ละเครือ ก็จะมีเกณฑ์การได้รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันไป  โดยสิทธิประโยชน์ในโพสนี้จะเป็นภาพรวม ต้องลงรายละเอียดแต่ละแบรนด์/เครือ ว่า ได้สิทธิประโยชน์นี้หรือไม่เช่น บางโรงแรมไม่มี Club Lounge ก็จะไม่ได้สิทธิประโยชน์นั้น

ในโพสนี้จะแนะนำ “สถานะ” ที่เรียกได้ว่า
1️⃣คุ้มค่าพอที่จะทำ ได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น
✅ อาหารเช้า
✅ เข้าClub lounge ทำให้ประหยัดเงินเวลาไปเที่ยว สถานะต่ำกว่านี้แทบไม่ค่อยมีประโยชน์ สู้มาระดับนี้เลยดีกว่า
✅ ส่วน Late Check out ก็ถือว่าเป็นประโยชน์แทนที่จะต้องเช็คเอาท์เที่ยง ก็สามารถเช็คเอาท์เป็น บ่าย2 บ่าย4 ได้เลย
✅ ส่วนสิทธิ Upgrade ห้อง ก็ถือเป็นสีสันในการเข้าพัก ได้ลุ้นๆ ในการเข้าพักถ้าห้องมีเหลือก็อาจจะได้รับการอัพเกรดไปห้องที่ดีขึ้น กว้างขึ้น
2️⃣ไม่เหนื่อยเกินไป สถานะอาจมีสูงกว่านี้ แต่สิทธิไม่ได้หวือหวาไปกว่านี้สักเท่าไหร่ ซึ่งอาจแลกมากับความยากลำบากอีกหลายเท่าเลยทีเดียว

〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
🏨 Marriott (แนะนำ Platinum)

▶️ Marriott Gold : 1️⃣ Late check out บ่าย2 / ส่วนอัพเกรด ถือเป็นสิทธิสีสันไม่การันตี
✅ Marriott Platinum : 1️⃣ ได้อาหารเช้าฟรี + สิทธิ Club Lounge เช่น ไปJW marriott กรุงเทพฯ ก็จะได้ afternoon tea กับ cocktail ตอนเย็น มูลค่าเป็นพันต่อคืน  2️⃣Late check out บ่าย4

👤วิธีการได้สถานะ ปกติ
🛏️ Marriott Gold นอน 25 คืน/ปี
🛏️ Marriott Platinum นอน 50 คืน/ปี

👤ปี2021 , 16ก.พ.-27เม.ษ. นอน2คืนติดได้ nightคูณ2
🛏️ Marriott Gold นอน 13 คืน
🛏️ Marriott Platinum นอน 25 คืน

👤วิธีที่แนะนำ >>. 🛏️ Marriott Platinum จองโรงแรมนอน ช่วง 16ก.พ.-27เม.ษ. 2021 2คืนขึ้นไป ให้ครบ 25 คืน 📅 สถานะหมดอายุ 1 Feb 2023
ตัวอย่างโรงแรมละ 1,000บาท Sheraton Grand , Le meridian Phuket 30คืน
❌ส่วน Status Matchตอนนี้(31Jan21) ปิดชั่วคราว ถึงอย่างไรก็ไม่ต้องเสียดายมากถึงมี สถานะก็จะหมดอายุ 1 Feb 2022

👤วิธีที่สะดวก >> เป็น Marriott Gold ทันที เมื่อสมัครบัตรเครดิต AMEX Platinum รายปี 35,000 บาท สามารถหารกันได้5คน ตกเฉลี่ยคนละ 7,000บาท พ่วงสิทธิอื่นๆ เช่น Hilton Gold, บัตร Priority Pass ไว้เข้าเลาจน์

〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
🏨 Accor (แนะนำ Platinum)

✅Accor Platinum : 1️⃣ ได้อาหารเช้าฟรี เฉพาะ เอเชีย-แปซิฟิก + สิทธิ Club Lounge เช่น 2️⃣Late check out

👤วิธีการได้สถานะ ปกติ
🛏️ Accor Platinum นอน 60 คืน/ปี หรือ มียอดใช้จ่าย 5,600 Euro (~204,000บาท) ต่อปี

👤ปี2021 ได้ night / ยอด คูณ 2
🛏️ Accor Platinum นอน 30 คืน/ปี หรือ มียอดใช้จ่าย 2,800 Euro (~102,000บาท) ต่อปี

👤วิธีที่แนะนำ >> 🛏️ Accor Platinum จองโรงแรมนอน ให้ครบ 30 คืน ภายในปี 2021 📅 สถานะหมดอายุ 31 Dec 2022
ตัวอย่าง Ibis + โปรฯ SCB 30คืน ~17,000บาท (หากมี Accor Plus ลดอีก 10%)

👤วิธีที่สะดวก
>> เป็น Accor Silver ทันที เมื่อสมัครบัตรเครดิต Accor Plus รายปี 7,200 บาท หารกับเพื่อนจะถูกกว่านี้ พ่วงสิทธิอื่นๆ เช่นส่วนลดเพิ่ม10% , ห้องฟรี 1 ห้อง ฯลฯ
>> เป็น Accor Gold ทันที เมื่อสมัครบัตรเครดิต Ibis business card รายปี 90 EUR (~3,300บาท) เช่นส่วนลดเพิ่ม10% ฯลฯ

〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
🏨 Hilton (แนะนำ Gold หรือ Diamond)

✅Hilton Gold : 1️⃣ ได้อาหารเช้าฟรี สมมุติแลกแต้มไป Waldorf Maldives 5 คืน ได้อาหารเช้าฟรี2คน(65USD++/1pax) ประหยัดไป ~24,000บาทละ 2️⃣Late check out บ่าย2
✅Hilton Diamond : 1️⃣ ได้อาหารเช้าฟรี + สิทธิ Club Lounge เช่น ไปเที่ยวฮิลตัน ภูเก็ต/หัวหิน/พัทยา ก็จะได้ afternoon tea กับ cocktail ตอนเย็น มูลค่าเป็นพันต่อคืนละ หรือ อย่างไปอเมริกาบางที่ได้อาหารเช้าเป็นบุฟเฟ่ต์ แต่ Gold อาจจะได้แค่ Grab&Go 2️⃣Late check out บ่าย4

👤วิธีการได้สถานะ ปกติ
🛏️ Hilton Gold นอน 40 คืน/ปี หรือ พัก 20 ครั้ง/ปี หรือ มียอดใช้จ่าย 7,500 USD (~225,000บาท) ต่อปี
🛏️ Hilton Diamond นอน 60 คืน/ปี หรือ 30 พัก ครั้ง/ปี หรือ มียอดใช้จ่าย 12,000 USD (~360,000บาท) ต่อปี

👤ปี2021 ลดเกณฑ์ลงครึ่งนึงจากปกติ
🛏️ Hilton Gold นอน 20 คืน/ปี หรือ พัก 10 ครั้ง/ปี หรือ มียอดใช้จ่าย 3,750 USD (~112,500บาท) ต่อปี
🛏️ Hilton Diamond นอน 30 คืน/ปี หรือ 15 พัก ครั้ง/ปี หรือ มียอดใช้จ่าย 6,000 USD (~180,000บาท) ต่อปี

👤วิธีที่แนะนำ >> ใช้ Status ของเครืออื่น ไป match และนอนน้อยลง โดยต้องมี Marriott: Goldขึ้นไป / Accor Gold ขึ้นไป/ IHG Gold ขึ้นไป 📅 สถานะหมดอายุ 31 Mar 2023
🛏️ Hilton Gold นอน 5คืน ใน 90 วันหลังกดสมัคร Status Match
🛏️ Hilton Diamond นอน 9คืน ใน 90 วันหลังกดสมัคร Status Match

👤วิธีที่สะดวก >> เป็น Hilton Gold ทันที เมื่อสมัครบัตรเครดิต AMEX Platinum รายปี 35,000 บาท สามารถหารกันได้5คน ตกเฉลี่ยคนละ 7,000บาท พ่วงสิทธิอื่นๆ เช่น Marriott Gold, บัตร Priority Pass ไว้เข้าเลาจน์

〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
🏨 IHG (แนะนำ Intercon. Ambassador)

▶️ IHG Platinum 1️⃣ Late check out ส่วนการอัพเกรดเมื่อนอนในเครือ IHG จะเป็นการลุ้น
✅Platinum จาก Intercontinental Ambassador 1️⃣ การันตี อัพเกรด 1 ระดับ เมื่อนอน Intercon. เวลาจองดูระดับที่อยากได้และลดไป1ระดับ จองเลย2️⃣ Late check out บ่าย4 3️⃣ ได้เครดิต 20 USD เมื่อนอนที่ Intercon.

ℹ️เนื่องจาก เครือ IHG แม้ว่าจะเป็น Platinum หรือ Spire ก็ยังไม่ได้สิทธิเข้า Club lounge เหมือนเครืออื่น เพราะเครือนี้เน้นโปรฯ ปั่นแต้ม ซึ่งต้องตามโปรฯเก่งๆ+นอนเยอะในระดับนึง การปั่นสถานะเพื่อไปใช้สิทธิในอนาคต อาจมีเพียงแต้มโบนัสที่ประโยชน์สูงสุด สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เชี่ยวชาญ ยังไม่แนะนำให้นอนเพื่อเก็บสถานะเครือนี้ เพราะจะคำนวณแต้ม+ความคุ้มไม่ทัน

👤วิธีการได้สถานะ ปกติ
🛏️ IHG Platinum นอน 40 คืน/ปี หรือ เก็บแต้มเข้าพัก 40,000คะแนนต่อปี

👤วิธีที่แนะนำ & สะดวก >> เป็น IHG Platinum ทันที เมื่อสมัครบัตร Intercontinental Ambassador รายปี 200USD (~6,000บาท) พ่วงสิทธิอื่นๆ เช่น จอง2คืนจ่าย1คืน เมื่อจองเข้าพักติด ศ-ส-อา แค่ไปหา รร.Intercon ที่แพงกว่า 6,000บาท นอนครั้งเดียว ก้คุ้มค่าบัตรนี้แล้ว / สิทธิ Intercontinental Ambassador 1️⃣ การันตี อัพเกรด 1 ระดับ เมื่อนอน Intercon. เวลาจองดูระดับที่อยากได้และลดไป1ระดับ จองเลย2️⃣ Late check out บ่าย4 3️⃣ ได้เครดิต 20 USD เมื่อนอนที่ Intercon.

4) สรุปภาพรวม

การจะตัดสินใจเลือกซักเครือ ต้องดูไลฟ์สไตล์ตัวเองดังนี้

  1. ชอบโรงแรมแบรนด์ไหนเป็นพิเศษ? ลงลึกเครือนั้น ตัวอย่าง
    • ชอบ Ibis ให้ลง Accor
    • ชอบ Conrad Samui, Maldives ให้ลง Hilton
    • ชอบ Intercon. Shanghai , Phuket ให้ลง IHG
    • ชอบ JW Phu Quoc ให้ลง Marriott
  2. สถานที่คิดว่าจะแพลนไปเที่ยว
    • อเมริกา เน้น Marriott, Hilton,IHG
    • ยุโรป,ออสเตรเลีย เน้น Accor
    • เอเชีย ก็เลือกจากแบรนด์เอา
  3. สิทธิประโยชน์คุ้มค่าที่จะทำ > ซึ่งตอนนี้ก็คุ้มแทบทุกเครือ อยู่ที่ไลฟ์สไตล์เลย
Facebook Comments